หมวดหมู่

Blue Forpus – นกแก้วฟอพัสสีฟ้า (69562)

นกฟอฟัส

นกฟอฟัส เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อน โดยปล่อยให้บินได้ภายนอกกรง หรือในอาคาร สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า นกฟอพัส เป็นนกแก้วขนาดเล็กมาก แถมมีสีสันสวยงาม เสียงไม่ดังจนเป็นที่รำคราญ สามารถปล่อยให้บินในที่พักได้ ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ได้เลี้ยงนกชนิดนี้เป็นอย่างมากที่ได้ชื่นชมความสวยงามของตัวนกและความน่ารักเมื่อเจ้านกตัวน้อยเหล่านี้ได้ออกมาอยู่นอกกรง นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการนำนกฟอพัสไปฝึกเพื่อนำไปปล่อยบินภายนอกอาคารแล้วกลับมาหาเจ้าของ ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงมีความเข้าใกล้ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และนี่อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับนกที่เราเลี้ยงเลยทีเดียว

ลักษณะ

นกฟอพัส เป็นนกแก้วชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลนกปากขอพันธุ์เล็กที่มีสีสันสวยงาม หลากหลายสี เขียว ขาว เหลือง ฟ้า และสีผสมต่างๆ อีกมากมาย และสามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้น ขนาดของเขาจะเล็กมากๆ

นิสัยและพฤติกรรม

นกฟอฟัส เป็นนกที่มีนิสัยร่าเริงและฉลาด ไม่ส่งเสียงดังเป็นที่รำคาญ ตัวกลม ขนนุ่มฟู ขี้เล่น ขี้อ้อน รักเจ้าของ สามารถฝึกให้เชื่องและปล่อยบินอิสระได้ จากเหตุผลข้างต้นจึงเป็นเหตุให้นกฟอพัสเป็นนกอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่ผู้คนนิยมเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน

การเลี้ยงดูและที่อยู่อาศัย

นกฟอพัสอาจเป็นสัตว์ตัวเล็ก แต่ อย่าคิดว่าคุณจะสามารถหากรงขนาดเล็กให้อยู่ได้ เนื่องจากนกฟอพัสต้องการพื้นที่! ต่ำที่สุดที่แนะนำคือขนาด 45 x 45 ซม แต่นี่จะยอมรับได้ก็ต่อเมื่อนกฟอพัสของคุณต้องออกมาอยู่ข้างนอกกรงบ้าง แต่ถ้าเลี้ยงในกรงทั้งวัน แนะนำขนาด ประมาณ 80 x 45 ซม ระยะห่างระหว่างซี่กรงควรมีขนาดไม่เกิน 1 ซม เนื่องจากนกฟอพัสมีขนาดเล็กมากและสามารถเอาหัวไปติดอยู่ในกรงที่มีระยะห่างซี่กรงที่กว้างเกินไป ดูกรงคลิ๊ก

อาหาร

อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยง อาหารสำหรับฟอฟัส และเมล็ดธัญพืช อันได้แก่ หวยมั้ว มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ด ข้าวเปลือกและทานตะวัน ธัญพืชรวม13อย่าง ผักและผลไม้ และควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน

อายุขัย

นกฟอฟัส เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยได้ยาวนาน 15 – 25 ปีทีเดียว แต่ทั้งนี่ก็ต้องขึ้นอยูที่ผู้เลี้ยงด้วยว่าได้เอาใจใส่ และดูแลทำความสะอาดเขาได้ดีเพียงใด

นกฟอฟัส

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง LINE OA. Click here

ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ